วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

*แคลอรี่ /ส้มตำไทย *

Exercise-yoga95

ส่วนผสม หลัก
มะละกอสับ 400 กรัม
น้ำปรุงส้มตำ 120 กรัม
ถั่วฝักยาว 80 กรัม
มะเขือเทศ 120 กรัม
พริกขี้หนู 5 กรัม
กุ้งแห้ง 25 กรัม
กระเทียม 8 กรัม
น้ำมะนาว 20 กรัม

* 30 grams = 1oz. , 1kilogram = 2.24 lbs.

  • โขลก พริก และกระเทียมพอแหลก
  • ใส่มะละกอ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ กุ้งแห้ง โขลกพอให้มะละกอช้ำนิดหน่อย
  • ใส่น้ำปรุงส้มตำ และแต่งรสเปรี้ยวด้วยน้ำมะนาวอีกเล็กน้อย รับประทานกับผักสด เช่น กะหล่ำปลี ผักบุ้งไทย ถั่วฝักยาว
วิธีทำน้ำปรุงส้มตำ 2 สูตร
สูตร 1. ทั่วไป
น้ำตาลปี๊บ                150       กรัม
น้ำปลา                       50        กรัม 
เกลือป่น                    1/2       ช้อนชา
น้ำมะขาม เปียก      100       กรัม
นำทุกอย่างผสมคนให้เข้ากัน แล้วนำไปต้มจนเดือดยกลงพักไว้ จนเย็นสนิท และชิมรสตามใจชอบ แต่ให้ออก 3 รส คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน และตั้งพักทิ้งไว้ให้เย็น   ก่อนใส่ ส้มตำผสมด้วยน้ำกระเทียมดอง
สูตร 2 ที่แม่ค้าทำขาย
มะขามเปียก, น้ำตาลปี้บ, น้ำปลา, เกลือ,  น้ำกระเทียมดอง
การทำก็ผสม ให้เข้ากันนำไปต้มจนเดือด
(เห็นเขาเติมรสดีลงไปด้วยนะไม่อยากแนะนำแต่ลูกค้าชอบ)เสร็จแล้วก็ยกลงจนเย็น จึงนำไปใช้

คุณค่าทางโภชนาการ 
พลังงาน
(กิโลแคลอรี่) 62.23     
โปรตีน
(กรัม) 3.36
ไขมัน
(กรัม) 0.51
คาร์โบไฮเดรต
(กรัม) 11.05
ใยอาหาร
(กรัม) 1.75
แคลเซียม
(มิลลิกรัม) 55.06
เหล็ก
(มิลลิกรัม) 0.58
จุดเด่นด้านคุณค่าทางโภชนาการของส้มตำ..มีไขมันต่ำและพลังงานต่ำ มีใยอาหารพอควร 
คุณค่าของสมุนไพรไทย
  • ถั่วฝักยาว : ป้องกันโรคเครียด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
  • มะเขือเทศ : บำรุงผิวพรรณ ให้วิตามิน C
  • กระเทียม : ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด โรคมะเร็ง การอักเสบ รักษาโรคผิวหนังจากเชื้อรา
  • น้ำมะนาว : ขับเสมหะ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน บำรุงเลือด แก้โรค เลือดออกตามไรฟัน
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ
ที่มา : ผศ.ดร.อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และคณะฯ
http://www.thaifoodtoworld.com/home/recipedetail.php?recipe_id=8
 ส้มตำ (Som tam)
เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กระหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง
 

ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุปหน่อไม้ ลาบ น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น

ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานไปทุก ภาค ยังให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชนิพนธ์เพลงส้มตำขึ้นมา


ประวัติ
คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็น อาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่นำเข้ามาจากเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น


ส้มตำแบบต่างๆ
ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
ส้มตำปลาร้า แต่จะใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
ตำซั้ว ใส่เส้นขนมจีนแทนเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
ตำป่า ใส่ ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน
นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง" กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย," แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง," ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว" และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า

ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

mayyo/miwcasa/fashions-health

123

@@ ฝึกโยคะ ทั้งหมด 21 ท่า @@

Exercise-yoga95 Headline Animator