วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

11} อัฒมัสเยนทรอาสนะ ท่าบิดตัว

อัฒมัสเยนทรอาสนะ
ท่าบิดตัว
วิธี ปฏิบัติ
        1. นั่งตัวตรง เหยียดขาสองข้างออกไปข้างหน้า ยกขาข้างหนึ่งข้ามขาอีกข้างหนึ่ง แล้วชันเข่าเท้าเลยเข่าของขาที่เหยียดเข้าหาตัวโดยเข่าราบกับพื้น ใช้มือดังเท้า จนกระทั่งแก้มก้นทับเท้าข้างที่ราบกับพื้น ใช้แขนข้างตรงข้ามกับเข่าที่ชัน ข้ามเข่าข้างที่ตั้งอยู่ เอื้อมมือไปจับเข่าของข้างที่งอกับพื้น หรือจับข้อเท้าของขาที่ชันเข่าก็ได้ จุดประสงค์เพื่อให้ต้นขากับหน้าท้องให้หนักเท่าที่จะทำได้เป็นสำคัญ แขนข้างเดียวกัน ชันเข่าวางมือที่จับเข่าหรือข้อเท้าแล้วแต่กรณี
        2. หายใจเข้า พร้อมกับยกมือที่วางทับอยู่นั้นขึ้นเสมอไหล่ ตาจับอยู่ที่หลังมือที่ยกขึ้นนั้น
        3. หายใจออก ค่อย ๆ หมุนหรือบิดตัว (แขนกับไหล่ และหน้าด้วย ตายังคงจับที่หลังมือนั้น) หมุนตัวไปข้างหลังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากนั้นก็งอแขนไปข้างหลังอีกต่อหนึ่ง ให้หลังมือสัมผัสกับเอวของข้างตัวด้านตรงข้าม
        4. กลั้นใจนิ่งอยู่ในท่านั้น 3 ถึง 5 วินาที
        5. เหยียดแขนพร้อมกับหายใจเข้า หันตัวกลับจนตัวตรง กลับสู่ท่าที่ 2
        6. หายใจออก พร้อมกับลดมือลงทับกับมืออีกข้างหนึ่ง กลับสู่ท่าที่ 1
        ทำ 5 ครั้ง แล้วเปลี่ยนไปทำอีกข้างหนึ่ง โดยทำนองเดียวกัน
ประโยชน์
       - กำจัดอาการท้องผูก อาการที่เกิดขึ้นจากน้ำย่อยพิการ
       - ช่วยยับยั้งการขยายตัวการคั่งของโลหิตของตับและม้าม ทำให้ไตที่ทำงานเฉื่อยชา กลับฟื้นแข็งขันขึ้น
       - ช่วยให้อาการปวดบั้นเอวและกล้ามเนื้อบริเวณหลังหายไป และทำให้ประสาทกระดูกสันหลังแข็งขันขึ้น
       - หลายตำรายืนยันว่า สามารถป้องกันไม่ให้เป็นเบาหวาน

ต่อ>> 12} จักรอาสนะ ท่ากงล้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

mayyo/miwcasa/fashions-health

123

@@ ฝึกโยคะ ทั้งหมด 21 ท่า @@

Exercise-yoga95 Headline Animator