อนุโลมะวิโลมะ ปราณยามะ
การหายใจสลับรูจมูก
การหายใจสลับรูจมูก
วิทยาเกี่ยวกับการหายใจนั้นในวิชาโยคะ สืบเนื่องและมีรากฐานมาจากการควบคุม “ ปราณ ” หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ พลังชีวิต นั่นเอง การฝึกที่เริ่มต้นนับว่าสำคัญสำหรับผู้ฝึกโยคะก็คือ การฝึกหายใจสลับรูจมูก ซึ่งเรียกว่า อนุโลมะ วิโลมะ ปราณยามะ เหตุผลในการฝึกหายใจสลับรูจมูก ก็เพราะว่า ลมหายใจของเรานั้นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาระหว่างจมูกสองรู ซึ่งท่านอาจรู้ในเรื่องนี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่าย ๆ โดยเอาหลังมือรอใกล้กับรูจมูกทั้งสองของท่านแล้วหายใจเข้าออกตามปรกติธรรมดา
สักครู่หนึ่ง ท่านจะพบว่า รู้จมูกข้างหนึ่งนั้นมีลมเข้าออกเพียงเล็กน้อย แสดงถึงว่ามีการอุดตันอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนรูจมูกอีกข้างหนึ่งโล่งมีลมเข้าออกเต็มที่
หมายความว่า ตลอดเวลาที่ท่านหายใจอยู่นั้น รูจมูกเพียงข้างเดียวทำงานหนักอยู่ตลอดเวลา หาได้ทำงานโดยเท่าเทียมกันและพร้อมกันทั้งสองข้างไม่ สักครู่หนึ่ง ท่านจะพบว่า รู้จมูกข้างหนึ่งนั้นมีลมเข้าออกเพียงเล็กน้อย แสดงถึงว่ามีการอุดตันอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนรูจมูกอีกข้างหนึ่งโล่งมีลมเข้าออกเต็มที่
ถ้าผู้ใดมีสุขภาพสมบูรณ์ตามปกติ การเปลี่ยนรูจมูกของลมหายใจเช่นว่านั้น จะกินเวลาประมาณทุก ๆ 1 ชั่วโมง 55 นาที และที่จะให้การเปลี่ยนลมหายใจของรูจมูกคงระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ อันหมายถึงความมีสุขภาพสมบูรณ์ของร่างกาย ท่านจะต้องทำปราณยามะโดยเริ่มต้นฝึกการหายใจสลับรูจมูก หรือ อนุโลมะ วิโลมะ ปราณยามะ ตามที่จะกล่าวต่อไป
โดยปกติระยะเวลาแห่งการเปลี่ยนรูจมูกของลมหายใจดังว่านั้น ส่วนใหญ่ย่อมแตกต่างกันแต่ละบุคคลไป ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากภาวการณ์ต่าง ๆ เช่นการใช้ชีวิตอันผิดธรรมชาติ การกินอาหาร ไม่ถูกต้อง โรคภัยไข้เจ็บ ขาดการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี และอื่น ๆ อีกหลายอย่าง การใช้ชีวิตอย่างผิดธรรมชาติ หรือฝืนธรรมชาตินั้น มีผลกระทบถึงการหายใจอยู่มาก ทำให้การหายใจเปลี่ยนแปลงไปเป็นโทษแก่ร่างกาย โยคะถือว่าลมหายใจที่ผ่านเข้าทางรูจมูกขวานั้น เป็นลมหายใจร้อน ส่วนที่เข้าทางรูจมูกซ้ายนั้น เป็นลมหายใจเย็น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเรียกรูจมูกข้างขวาว่า “ ช่องอาทิตย์ ” และเรียกรูจมูกซ้ายว่า “ ช่องจันทร์ ”
พลังหรือกำลังงานที่ไหลผ่านช่องอาทิตย์ ก่อให้เกิดความร้อนขึ้นในร่างกายเป็นกำลังงานเผาผลาญเพื่อให้อาหารกลายเป็น พลังและเนื้อหนังบังคับให้โลหิตวิ่งออกไปทั่วร่าง รวมไปถึงก่อให้เกิดแรงกระตุ้นจากศูนย์กลางของประสาทออกไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และคอยเร่งให้อวัยวะของร่างกายทำงานเต็มที่ด้วย ส่วนกำลังงานทางช่องจันทร์นั้น เป็นกำลังงานเย็น จึงตรงกันข้ามกับช่อง อาทิตย์ นั่นก็คือ เป็นกำลังงานในการสร้างสรรค์พลังและเนื้อหนังขึ้นหลังจากอาหารถูกเผาผลาญ ด้วยความร้อนแล้ว ขับโลหิตที่ร่างกายใช้แล้วกลับไปสู่หัวใจเพื่อฟอกใหม่ และรับความรู้สึกจากปลายประสาทกลับเข้าสู่ศูนย์กลางของประสาท ทั้งยังทำหน้าที่คอยยับยั้งมิให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานเร็วเกินไปด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ถ้าลมหายใจของท่านเข้าออกคล่องทางรูจมูกรูใดรูหนึ่งนานกว่าสองชั่วโมงแล้ว ก็เป็นอาการแสดงให้เห็นว่า ร่างกายของท่านเย็นหรือร้อนเกินไปอย่างไม่ถูกส่วนนั่นเอง เช่น เป็นต้นว่าช่องอาทิตย์ทำงานมากเกินไป ความร้อนในร่างกายของท่านจะเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดความวุ่นวายและเกิดความไม่สงบ ทั้งทางประสาทและจิตใจ แต่ถ้าช่องจันทร์ทำงานมากกว่าช่องอาทิตย์ ไม่สมดุลกัน ดังที่กล่าวแล้ว ระบบการเผาผลาญเพื่อสร้างให้อาหารกลายเป็นพลังและเลือดเนื้อของร่างกายก็จะ ทำงานช้าลงทำให้เกิดความเชื่องช้า เกียจคร้านอ่อนเพลีย ไม่อยากทำงานการอะไรทั้งสิ้น และสองก็จะหมดสมรรถภาพไปด้วย
การฝึกหายใจโดยเปลี่ยนรูจมูกนี้ ส่วนใหญ่ก็เพื่อรักษาความสมดุลระหว่างระบบเผาผลาญอาหาร และระบบก่อสร้างพลังกับเนื้อหนังของร่างกายให้คงอยู่ในอัตราส่วนที่ดีที่สุด นั่นเอง นอกจากนั้นโยคะยังถือด้วยว่า การที่ลมหายใจเข้าออกคล่องทางรูจมูกข้างเดียว เป็นเวลาหลายชั่วโมงนั้น เป็นการเตือนให้รู้ว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยกำลังจะมาถึงตัวแล้ว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่นานเท่าใด ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะยิ่งร้ายแรงขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพราะว่าปมของศูนย์กลางประสาท โดยเฉพาะบางแห่งทำงานมากเกินไป เนื่องมาจากการหายใจไม่สมดุลกันระหว่างรูจมูกทั้งสองอันจะก่อให้เกิดความ เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นการถาวรขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้บทที่ 1
หัดหายใจด้วยรูจมูกข้างเดียว
นั่งในท่าสมาธิท่าใดท่าหนึ่งให้สบาย อย่าให้มีอาการเกร็งหรือเกิดเจ็บปวดตามข้อต่าง ๆ ขณะนั้น และถ้าหากไม่อาจหาท่านั่งที่สบายได้ จะนั่งบนเก้าอี้ในท่าที่เรียกว่า “ นั่งแบบอียิปต์ ” ก็ได้เหมือนกัน ข้อสำคัญกระดูกสันหลัง คอ และศีรษะ จะต้องตรงเป็นเส้นเดียวกัน มือซ้ายทอดตามสบายบนเข่าซ้าย ให้นิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือแตะกันเบา ๆ ส่วนมือขวายกขึ้นปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้ว หัวแม่มือข้างขวาของท่าน ตั้งใจให้ดีแล้วหายใจ ให้ลมผ่านรูจมูกซ้ายช้า ๆ นับในใจห้าครั้ง จากนั้นโดยทันที ก็หายใจออกจากรูจมูกเดียวกัน (ซ้าย) นับสิบครั้ง (หนึ่งครั้งต่อหนึ่งวินาที) นั่นก็คือ หายใจออกจะต้องเป็นสองเท่าของการหายใจเข้าเสมอ เป็นอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ทำซ้ำ หายใจเข้าห้าวินาทีหายใจออกสิบวินาทีด้วยรูจมูกข้างซ้าย 15 ถึง 20 รอบ ๆ หนึ่งคือ หายใจเข้า 5 วินาที และหายใจออก 10 วินาที หัดหายใจด้วยรูจมูกข้างเดียว
เมื่อทำครบรอบตามที่กล่าวข้างบนนั้นแล้ว ให้ใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยปิดรูจมูกข้างซ้าย ยกนิ้วหัวแม่มือออกจากการปิดรูจมูกขวา หายใจเข้ารูจมูกข้างขวาทันที โดยนับห้าครั้งแล้วหายใจออกโดยรูจมูกเดียวกันนั้น (ขวา) สิบครั้ง ทำนองเดียวกับที่ทำมาแล้วกับรูจมูกข้างซ้ายทำซ้ำ 15 ถึง 20 ครั้ง เช่นเดียวกัน
เวลาหายใจเข้าอย่าให้เกิดมีเสียงดังเป็นอันขาด การหายใจให้หายใจแบบสามส่วน หรือหายใจสมบูรณ์แบบ คือ ต่ำ-กลางและสูง (ท้อง-หน้าอก-หัวไหล่) เมื่อหายใจออก พยายามขับอากาศเสียในปอดให้ออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ควรหายใจตามบทนี้เป็นเวลา 15 วัน แล้วจึงเพิ่มอัตราส่วนเป็นหายใจเข้า 6 วินาที และหายใจออก 12 วินาที แต่อย่าเพิ่มอัตราส่วนขึ้นเป็นอันขาด จนกว่าท่านจะสามารถทำในอัตราส่วนที่ต่ำกว่าได้อย่างสบายแล้วจริง ๆ ทั้งนี้เป็นกฎสำคัญในการหัดหายใจทุกประเภท จงทำเท่าที่สามารถจะทำได้เท่านั้น อย่าให้เกินกำลังของตน
การหัดหายใจตามบทนี้ไม่มีการหยุดหายใจ วัตถุประสงค์ในการที่หายใจเข้าออกทางรูจมูกเดียว ก็เพื่อแก้ความเคยชินที่หายใจผิด ๆ เสียให้ถูกต้องในชั้นแรก เว้นไว้เสียแต่ว่าจะหายใจสมบูรณ์แบบหรือหายใจแบบกลาง-ต่ำ-สูง ได้เป็นอย่างดี และเป็นไปโดยอัตโนมัติแล้วเท่านั้น ท่านไม่ควรทำปราณยามะในขั้นสูง ๆ ต่อไป จงหัดหายใจตามบทที่ 1 นี้เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน แม้ท่านจะรู้สึกว่าท่านสามารถขยายเวลาได้อย่างสบายก่อนหน้านี้ก็ตาม
บทที่ 2
หายใจสลับรูจมูก
หายใจสลับรูจมูก
หลังจากฝึกหัดตามบทที่ 1 มาเป็นเวลาหนึ่งเดือนแล้ว ก็เริ่มหัดหายใจสลับรูจมูกได้ทั้งนี้โดยไม่ต้องหัดหายใจตามบทที่ 1 ซึ่งหายใจด้วยรูจมูกเดียวต่อไปอีก
วิธีทำ ปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้วหัวแม่มือข้างขวา แล้วหายใจเข้าด้วยรูจมูกซ้าย จากนั้นก็ปิดรูจมูกซ้ายทันทีด้วยนิ้วนางกับนิ้วก้อย ยกนิ้วหัวแม่มือออกจากรูจมูกขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกนั้น (ขวา) นับเป็นครึ่งรอบ
จากนั้นโดยไม่ต้องหยุดก็สูดลมเข้าทางรูจมูกขวา ปิดรูจมูกขวา ด้วยนิ้วหัวแม่มือขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกซ้าย ทำนองเดียวกับที่ทำมาก่อนแล้ว นับเป็นหนึ่งรอบ
อัตราส่วนสำหรับการหายใจตาม บทที่ 2 นี้ก็คือ 1 ต่อ 2 เหมือนกับการหายใจตามบทที่ 1 นั่นก็คือ หายใจเข้า 6 วินาที และหายใจออก 12 วินาที ข้อบังคับที่ใช้ในบทที่ 1 ให้นำมาใช้ในบทนี้ด้วย ทำ 15 ถึง 20 รอบ
เมื่อท่านสามารถหายใจเข้า 6 วินาที หายใจออก 12 วินาที ได้อย่างสบายแล้ว ให้เพิ่มขึ้นเป็น 7 กับ 14 วินาที และต่อไปเป็น 8 กับ 16 วินาที การเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ให้ค่อยทำค่อยไป ควรหัดหายใจตามบทที่ 2 นี้ในขั้นต้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 เดือนก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็นหายใจเข้า 8 วินาที กับหายใจออก 16 วินาที
ในระยะนี้ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจของท่าน การหายใจของท่านจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกระบังลม ท่านจะรู้สึกว่า ร่างกายของท่านเบาขึ้น และนัยน์ตาส่องแสงเป็นประกาย
วิธีทำ ปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้วหัวแม่มือข้างขวา แล้วหายใจเข้าด้วยรูจมูกซ้าย จากนั้นก็ปิดรูจมูกซ้ายทันทีด้วยนิ้วนางกับนิ้วก้อย ยกนิ้วหัวแม่มือออกจากรูจมูกขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกนั้น (ขวา) นับเป็นครึ่งรอบ
จากนั้นโดยไม่ต้องหยุดก็สูดลมเข้าทางรูจมูกขวา ปิดรูจมูกขวา ด้วยนิ้วหัวแม่มือขวา แล้วหายใจออกทางรูจมูกซ้าย ทำนองเดียวกับที่ทำมาก่อนแล้ว นับเป็นหนึ่งรอบ
อัตราส่วนสำหรับการหายใจตาม บทที่ 2 นี้ก็คือ 1 ต่อ 2 เหมือนกับการหายใจตามบทที่ 1 นั่นก็คือ หายใจเข้า 6 วินาที และหายใจออก 12 วินาที ข้อบังคับที่ใช้ในบทที่ 1 ให้นำมาใช้ในบทนี้ด้วย ทำ 15 ถึง 20 รอบ
เมื่อท่านสามารถหายใจเข้า 6 วินาที หายใจออก 12 วินาที ได้อย่างสบายแล้ว ให้เพิ่มขึ้นเป็น 7 กับ 14 วินาที และต่อไปเป็น 8 กับ 16 วินาที การเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ให้ค่อยทำค่อยไป ควรหัดหายใจตามบทที่ 2 นี้ในขั้นต้นเป็นเวลา 2 หรือ 3 เดือนก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็นหายใจเข้า 8 วินาที กับหายใจออก 16 วินาที
ในระยะนี้ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่า มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจของท่าน การหายใจของท่านจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์เต็มที่ โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกระบังลม ท่านจะรู้สึกว่า ร่างกายของท่านเบาขึ้น และนัยน์ตาส่องแสงเป็นประกาย
บทที่ 3
หายใจสลับรูจมูกสมบูรณ์แบบ
หายใจสลับรูจมูกสมบูรณ์แบบ
ในบทที่ 3 นี้เราได้รวมการหยุดหายใจหรือกลั้นหายใจเข้าไปด้วย บทนี้ต่างกับบทที่ 2 ก็ด้วยการหยุดหายใจเท่านั้น
อัตราส่วนอันถูกต้องระหว่างการหายใจเข้ากับการหยุดหายใจ สำหรับการหายใจแบบนี้คือ 1 ต่อ 4 แต่ผู้เริ่มต้นควรเริ่มจากอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ไปก่อนสักสองสามเดือนจึงค่อยทำ 1 ต่อ 4
อัตราส่วนต่ำที่สุดในการเริ่มต้นก็คือ หายใจเข้า 4 วินาที หยุดหายใจ 8 วินาที และหายใจออก 8 วินาที ทำทุกวัน หลังจากหนึ่งเดือนแล้วจึงควรเพิ่มเป็น 5-10-10 และค่อยเพิ่มจนกระทั่งถึง 8-16-16
ในภาษาสันสกฤต หายใจเข้าเรียกว่า ปูรกะ หยุดหายใจเรียก กุมภกะ และหายใจออกเรียก เรจกะ
วิธีทำหายใจเข้าทางรูจมูกซ้าย นับในใจ 4 วินาที หยุดหายใจด้วยการกักอากาศไว้ ภายในร่างกาย 8 วินาที หายใจออกทางรูจมูกขวา 8 วินาที แล้วในทันทีนั้น ก็หายใจเข้ารูจมูกขวา หยุดหายใจ และหายใจออกทางรูจมูกซ้าย โดยอัตราส่วน 4-8-8 วินาที เช่นเดียวกันนับเป็นหนึ่งรอบทำ 15 ถึง 20 รอบ ทุกวัน
ในขณะที่ท่านหยุดหายใจหรือกลั้นหายใจอยู่นั้น ให้ปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้วหัวแม่มือขวา และรูจมูกซ้ายด้วยนิ้วนางกับนิ้วก้อย อย่าใช้นิ้วชี้ปิดรูจมูกเป็นอันขาด เพราะกระแสแม่เหล็กที่ออกจากนิ้วนั้น ไม่สะอาด
เมื่อท่านทำ 8-16-16 ได้อย่างสบายแล้ว จึงควรเปลี่ยนอัตราส่วนเป็น 1-4-2 เริ่มต้นจากหายใจเข้า 4 วินาที หยุดหายใจ 16 วินาที และหายใจออก 6 วินาที ค่อยทำต่อไปจนถึง 8-32-16 ควรใช้เวลาประมาณ 8 ถึง 12 เดือน ในการหัดหายใจ จนถึงระยะนี้ไม่ควรรีบเร่ง
อัตราส่วนอันถูกต้องระหว่างการหายใจเข้ากับการหยุดหายใจ สำหรับการหายใจแบบนี้คือ 1 ต่อ 4 แต่ผู้เริ่มต้นควรเริ่มจากอัตราส่วน 1 ต่อ 2 ไปก่อนสักสองสามเดือนจึงค่อยทำ 1 ต่อ 4
อัตราส่วนต่ำที่สุดในการเริ่มต้นก็คือ หายใจเข้า 4 วินาที หยุดหายใจ 8 วินาที และหายใจออก 8 วินาที ทำทุกวัน หลังจากหนึ่งเดือนแล้วจึงควรเพิ่มเป็น 5-10-10 และค่อยเพิ่มจนกระทั่งถึง 8-16-16
ในภาษาสันสกฤต หายใจเข้าเรียกว่า ปูรกะ หยุดหายใจเรียก กุมภกะ และหายใจออกเรียก เรจกะ
วิธีทำหายใจเข้าทางรูจมูกซ้าย นับในใจ 4 วินาที หยุดหายใจด้วยการกักอากาศไว้ ภายในร่างกาย 8 วินาที หายใจออกทางรูจมูกขวา 8 วินาที แล้วในทันทีนั้น ก็หายใจเข้ารูจมูกขวา หยุดหายใจ และหายใจออกทางรูจมูกซ้าย โดยอัตราส่วน 4-8-8 วินาที เช่นเดียวกันนับเป็นหนึ่งรอบทำ 15 ถึง 20 รอบ ทุกวัน
ในขณะที่ท่านหยุดหายใจหรือกลั้นหายใจอยู่นั้น ให้ปิดรูจมูกขวาด้วยนิ้วหัวแม่มือขวา และรูจมูกซ้ายด้วยนิ้วนางกับนิ้วก้อย อย่าใช้นิ้วชี้ปิดรูจมูกเป็นอันขาด เพราะกระแสแม่เหล็กที่ออกจากนิ้วนั้น ไม่สะอาด
เมื่อท่านทำ 8-16-16 ได้อย่างสบายแล้ว จึงควรเปลี่ยนอัตราส่วนเป็น 1-4-2 เริ่มต้นจากหายใจเข้า 4 วินาที หยุดหายใจ 16 วินาที และหายใจออก 6 วินาที ค่อยทำต่อไปจนถึง 8-32-16 ควรใช้เวลาประมาณ 8 ถึง 12 เดือน ในการหัดหายใจ จนถึงระยะนี้ไม่ควรรีบเร่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
mayyo/miwcasa/fashions-health