1 } โยคะเพื่อจัดการความเครียดเกิน "ท่าพระ จันทร์"
"ท่าพระจันทร์" บ้างก็เรียกว่า "ท่าเด็ก" บ้างก็เรียก "ท่ากระต่าย" เป็นท่าง่ายๆที่ทำแล้วจะรู้สึกสบาย รู้สึกได้ถึงการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
วิธีทำ เราเริ่มจากการนั่งในท่าเพชร (ฉบับ ๒๔๕ กันยายน ๒๕๔๒) รวบแขนไปข้างหลัง ใช้มือซ้ายกำข้อมือขวาหรือมือขวากำข้อมือซ้าย (ตามถนัด) ค่อยๆโน้มตัวไปข้างหน้าจนหน้าผากแตะพื้น และคงตัวนิ่งอยู่ในท่าสัก ๑ นาที หรือมากกว่านั้น จากนั้นค่อยๆคืนลำตัวกลับขึ้นมาอยู่ในท่านั่งเพชร สำหรับผู้ที่ไม่สามารถโน้มศีรษะลงแตะพื้นได้ ให้วางหน้าผากบนเข่าแทน หรือจะใช้วิธีนำหมอนมารองไว้แล้วก้มหน้าผากลงแตะที่หมอนก็ได้
ใน "ท่าพระจันทร์" นี้ ร่างกายของเราออกแรงน้อยมาก เพราะเราถ่ายน้ำหนักตัวแทบทั้งหมดลงสู่พื้น ผ่านตามจุดต่างๆ เช่น ที่หลังเท้า, ที่เข่า, ที่ศีรษะ ทำให้เรารู้สึกสบายตัว นอกจากนั้นการที่เราก้มศีรษะลงต่ำ เลือดไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงได้ดี ทำให้เรารู้สึกถึงความโปร่งโล่งทั้งศีรษะ สมอง สดชื่น แจ่มใส จิตใจเบิกบาน
ข้อ พึงระวังในการทำ "ท่าพระจันทร์" คือ ตอนคืนตัวกลับ ควรทำช้าๆ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาในการปรับความดันของเลือด โดยเฉพาะคนที่มีอาการความดันเลือดต่ำ หากคืนตัวกลับเร็วเกินไป จะเกิดอาการหน้ามืด เนื่องจากเลือดไหลตามขึ้นมาหล่อเลี้ยงที่ศีรษะไม่ทัน อยากให้ผู้อ่านลองปฏิบัติดู เราสามารถแยกทำเฉพาะท่านี้ท่าเดียวโดดๆ ทั้งยังสามารถทำต่อจากท่าต่างๆที่ได้แนะนำมาตามลำดับตั้งแต่ฉบับที่ ๒๔๑ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ก็ได้
2 } โยคะเพื่อจัดการความเครียดเกิน "ท่าอูฐ"
วิธี ฝึกท่าอูฐครึ่งตัว
จากท่านั่งขัดสมาธิเพชร ค่อยๆลุกขึ้นคุกเข่า แยกเข่าและเท้าออกจากกัน ระยะห่างเท่ากับความกว้างของไหล่ ใช้มือทั้ง ๒ รองรับ ไว้ที่เอว บีบศอกเข้าหากัน จากนั้นแอ่นช่องท้องมาด้านหน้า พร้อมกับเอนทรวงอกและศีรษะไปด้านหลัง เรายังคงเก็บคางไว้กับทรวงอก (ไม่เปิดคาง) เพื่อกันไม่ให้กระดูกคอต้องรับน้ำหนัก (ของศีรษะ) มากเกินไป กำหนดรู้กับความเหยียดตึงของลำตัวทางด้านหน้า ตลอดทั่วแผ่นอกและช่องท้อง และกำหนดรู้กับการแอ่นโค้งของแนวกระดูกสันหลัง คงนิ่งอยู่ในท่าสักครู่ จากนั้นเปล่งเสียง "อาา" ดังๆ พร้อมกับกำหนดรู้ความสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้อง แล้วจึงคืนลำตัวกลับ ลดตัวลงพักในท่าขัดสมาธิเพชรท่าอูฐ เต็มตัว
สำหรับผู้ที่ทำท่าอูฐครึ่งตัวได้ชำนาญ ลองฝึกท่าเต็มดู จากท่าคุกเข่า เอี้ยวตัวไปทางซ้าย พร้อมกับลดมือซ้ายลงรวบส้นเท้าซ้าย ยึดให้มั่น แล้วเอี้ยวตัวไปทางขวา ลดมือขวาลงรวบส้นเท้าขวา (ในการทำท่าอูฐเต็ม เราสามารถเปิดคาง ปล่อยศีรษะให้ลู่ไปด้านหลังได้เต็มที่) คงนิ่งอยู่ในท่าสักครู่ แล้วเปล่ง เสีย "อาา" ดังๆ พร้อมกับกำหนดรู้ทุกๆความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย การคืนกลับ เรายกมือซ้ายขึ้น บิดลำตัวมาทางขวา และยกมือขวาขึ้น คืนลำตัวตั้งตรง แล้วกลับไปพักใหม่ในท่าขัดสมาธิเพชรผู้ฝึกควรหัดทำด้วยความระมัด ระวัง ค่อยเป็นค่อยไป ท่าอูฐจัดเป็นท่าโยคะในขั้นยาก เราอาจใช้เวลาสักหน่อยในการฝึกทำ และแน่นอนมันเป็นท่าที่ให้ประโยชน์กับร่างกายมาก โดยเฉพาะการเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับแนวกระดูกสันหลังในทิศทางการแอ่นโค้ง กลับ
3 } โยคะเพื่อจัดการความเครียดเกินท่า "นั่งเพชร วัชระอาสนะ"
ท่านั่งเพชรเป็นการนั่งพับเพียบโดยวาง ก้นไว้ระหว่างส้นเท้า หรือเราอาจจะเรียกว่าเป็นการนั่งบนหลังเท้าก็ได้ แม้ท่านี้จะดูเรียบง่ายมาก จนบางคนถามว่านี่ถือเป็นอาสนะด้วยหรือ? ยิ่งหากใครมีทัศนคติว่าการทำโยคะต้องเป็นการทำอะไรที่ยากๆ อาจมองข้ามท่านี้ไปเลย อยากจะย้ำว่าโยคะเป็นการทำสิ่งดีๆให้กับตัวเอง ไม่เกี่ยวกับเรื่องของความยากง่ายแต่อย่างใด บ่อยครั้งมิใช่หรือที่ของดีๆมักเรียบง่าย?
ประโยชน์ของท่า นั่งเพชร
๑. ขณะนั่งท่าเพชร ระบบย่อยอาหารของเราจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ (นั่งแล้วรู้สึกสบายท้อง) กระเพาะอาหารจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยากให้ผู้อ่านลองนั่งท่าเพชร หลังกินอาหารใหม่ๆ แล้วเฝ้าสังเกตดู๒. ท่านั่งเพชรเป็นท่าที่เหมาะ สำหรับการนั่งนานๆ เพราะในท่าดังกล่าวกระดูกสันหลังชิ้นสุดท้ายของเรา (กระดูกก้นกบ) จะลอยพ้นพื้น เป็นการผ่่อนคลายแรงกดทับที่แนวกระดูกสันหลัง ทั้งยังลดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง เพราะช่องท้องของเราคลายออก
๓. การ นั่งท่าเพชร จะส่งผลให้จิตใจของเราเข้าสู่ความสงบนิ่งได้เร็ว เช่นเดียวกับการนั่งขัดสมาธิ ซึ่งนั่นหมายความว่า ท่าเพชรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้นั่งสมาธิได้เลือกใช้
อย่างไร ก็ตาม จุดอ่อนของท่านั่งเพชร คือ เราจะเจ็บหลังเท้า เนื่องจากถูกกดทับ โดยเฉพาะคนที่เริ่มหัดนั่ง การฝึกบ่อยๆ จะค่อยๆสร้างความเคยชิน ให้เรานั่งได้นานขึ้นๆ
นักเขียนหมอชาวบ้าน :กวี คงภักดีพงษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
mayyo/miwcasa/fashions-health