วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โยคะ/วิถี8

โยคะ Râja-Yoga
เป็นโยคะสำหรับพระราชาหรือสำหรับในวังเป็นโยคะต้นแบบซึ่งได้มีการบันทึกใน ตำรา Yoga-Sûtra of
Patanjali (c. 200 A.D.).ซึ่งได้กล่าวไว้ว่าการฝึกโยคะเป็นวิธีการควบคุมจิตใจให้สงบ ทำให้เลือดลมหรือพลังงานไหลเวียนไปได้ทั่วร่างกายโดยไม่ติดขัด กระบวนการฝึกโยคะเพื่อทำให้จิตใจสงบลงนั้นได้รับการจัดระบบไว้ 8 ขั้นตอนหรือที่เรียกว่าวิถีทั้งแปดซึ่งประกอบไปด้วย
  1.  ยะมะ หรือ Moral discipline (Yama) คือศีลธรรมและจริยธรรมที่จะช่วยให้คนอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เบียดเบียนกันซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
  • การไม่ฆ่าฟันหรือทำร้ายผู้อื่น ต้องให้ความรักผู้อื่น
  • ต้องรักษาความสัตย์ คิดและพูดสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์
  • ไม่โลภ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้หรืออยากมีเกินความเป็นจริง
  • ทำงานหรือทำหน้าที่ของตัวเองให้เต็มความสามารถ ฝึกจิตของตัวเองให้ควบคุมตัวเองในเรื่องของการคิด การพูดและการทำ
  • ไม่สะสมสิ่งที่มีเกินความจำเป็น ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น
  1. นิยะมะ Self-restraint (Niyama) หรือความมีวิถีแห่งตนได้แก่
  • การรักษาร่างกายให้สะอาดด้วยการอาบน้ำ การรักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ด้วยการฝึกโยคะและฝึกลมปราน
  • ฝึกตนเองให้พอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ จิตใจที่ไม่รู้จักพอจะขาดพลังจิต ขาดทิศทางและยากที่จะสงบลงได้
  • ความเพียรพยายามในการควบคุมกาย วาจาและใจให้ทำในสิ่งที่ดีๆ
  • ศึกษาเกี่ยวกับธรรมและตนเองเพื่อที่จะหาทางแกไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม
  • ฝึกปฏิบัติให้ลดความโลภ โกรธ หลง
  1. อาสนะPosture (Asana) หมายถึงท่าในการฝึกโยคะ เป็นท่าสำหรับการบริหารร่างกาย ฝึกยืดกล้ามเนื้อกระตุ้นให้การทำงานประสาทและต่อมต่างๆ
  2. พรานายะมะ Breath control (Prânâyâma)เป็น การฝึกกำหนดลมหายใจโดยเป็นการฝึกการหายใจเข้า การหายใจออก และการกลั้นหายใจ
  3. พรายาหาระ Sensory inhibition (Pratyâhâra) หมายถึงการควบคุมความรู้สึกต่าง รู้สึกอยากได้ รู้สึกโกรธ เมื่อจิตใจไม่ติดยึดกับวัตถุหรืออารมณ์ก็ทำให้จิตใจผู้นั้นบริสุทธิ์และมี พลังงานในการคิดหรือทำดี
  4. ธารนะ Concentration (Dhâranâ) คือความมีสมาธิจดจ่อในสิ่งที่กระทำอยู่เมื่อกายอยู่ในท่าโยคะให้จิตใจสนใจ แต่เรื่องลมหายใจไม่คิดเรื่องอื่น
  5. ธยานะMeditation (Dhyâna) คือการที่จิตใจที่เพ่งอย่างต่อเนื่องจนเกิดสมาธิ ไม่ว่าจะเปลี่ยนท่าโยคะไปท่าใดผู้ฝึกก็ยังมีจิตใจไม่วอกแวก หากฝึกถึงขั้นนี้ร่างกายจะรู้สึกเบาสบาย มั่นคง จิตใจแจ่มใส
  6. สมาธิหรือฌาณ Ecstasy (Samâdhi) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกโยคะ ทางพุทธเรียกฌาณ ร่างกายจิตใจอยู่ในสภาวะพัก มีความสงบนิ่งสมดุล ผู้ฝึกจะมีสติและรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
เป้าหมายของการฝึกโยคะ Râja-Yoga คือการปลดปล่อยตัวเองจากโลภ โกรธ หลงและมีสมาธิ
Exercise-yoga95
Exercise-yoga95

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

mayyo/miwcasa/fashions-health

123

@@ ฝึกโยคะ ทั้งหมด 21 ท่า @@

Exercise-yoga95 Headline Animator